ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไทย ฉบับหอสมุดแห่งชาติ

BIA-P.1/51-3

ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไทย ฉบับหอสมุดแห่งชาติ

ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไทย ฉบับหอสมุดแห่งชาติ

หรือไตรภูมิกถาที่พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในสมัยสุโขทัย เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงกำเนิดโลก หรือจักรวาล และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในจักรวาล โดยแบ่งจักรวาลออกเป็นสามภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

กามภูมิ ได้แก่ดินแดนของผู้ที่ยังข้องอยู่ในกามคุณ มีความสุข และความทุกข์แยกย่อยออกเป็น 2 ภูมิ คือ สุคติภูมิและทุคติภูมิ สุคติภูมิแยกเป็น 2 ระดับคือ มนุสสภูมิ (แดนของมนุษย์) และสวรรค์ ส่วนทุคติภูมิแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ อสุรกายภูมิ เปตภูมิ ดิรัจฉานภูมิ และนรกภูมิ

รูปภูมิ หรือสวรรค์สิบหกชั้นอยู่เหนือกามภูมิ เป็นแดนของพรหมผู้ไม่ข้องอยู่ในกามคุณ พรหมเหล่านี้ยังมีรูปร่างมีตัวตนอยู่

อรูปภูมิ เป็นแดนของพรหมผู้ดำรงอยู่ในสภาพของจิต ไม่มีร่าง ไม่มีตัวตน เสวยปีติสุขอยู่ด้วยฌานในระดับสูงกว่ารูปภูมิ ผู้อยู่ในสวรรค์ชั้นนี้จะไม่กลับมาเกิดในมนุษยโลก จะบรรลุนิพพานในที่สุด

ไตรภูมิกถายังกล่าวถึงโครงสร้างของจักรวาล กล่าวถึงความสูง ความกว้าง ของเขาพระสุเมรุและเขาสัตตบริภัณฑ์ การโคจรของพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวพระเคราะห์ กลุ่มดาวนักษัตรต่างๆ เวลาในแต่ละทวีป การสลายตัวและการเกิดใหม่ของจักรวาลเมื่อสิ้นกัลป์ ฯลฯ "

วิธีการอธิบายในไตรภูมิกถานั้นใช้การยกเรื่องราวทำนองนิยายประกอบเป็นตอนๆ โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงมนุสสภูมิ ตอนสุดท้ายกล่าวถึงนิพพานและวิธีปฏิบัติตนเพื่อบรรลุนิพพานด้วยการกำจัดกิเลสตามขั้นตอน และวิธีภาวนาโลกุตตรฌานในระดับต่างๆ

- พิมพ์ครั้งที่ 4 [พ.ศ. 2509]

[1] - [33]

หมายเหตุ

- มีประทับตราภาษาจีน "ฮุกส่ายปีคิว" ที่ปกหน้าและปกรอง

- มีเครื่องหมายฟองมัน หน้า 314, 326

- มีเครื่องหมาย ฯลฯ หน้า 318

- มีลายมือเขียนหน้าที่ 3 นับจากปกหลังว่า "ล้วนแต่, แต่ละคน, แต่ละอัน... ย่อม = เทียร ย่อม"

พ.ศ. 2509

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกแข็ง จำนวน 33 หน้า และมีลายมือของพุทธทาสภิกขุเขียนด้วยปากกา