โคลงโลกนิติ

BIA-P.1/53-7

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหาคำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์ธรรมนีติ คัมภีร์ราชนีติ หิโตปเทศ ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท เป็นต้น มาถอดความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อพ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพนฯ เป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติสำนวนเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ ให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น สุภาษิตที่ปรากฎในโคลงโลกนิติ นิยมนับถือกันว่าเป็นภาษิตที่เหมาะสม ที่จะใช้เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนกันต่อไป

- พิมพ์ครั้งที่ [พ.ศ. 2511]

[1] - [325]

หมายเหตุ

- มีลายมือเขียนที่หน้าปกว่า "เอื้อเฟื้อจากคุณประยูร เศวตเศรณี"

- มีประทับตราภาษาจีน "ฮุกส่ายปีคิว" ที่หน้าปกและหน้า 1

- มีลายมือเขียนที่สันปกว่า "โคลงโลกนิติ"

อนุสรณ์

ในงานฌาปนกิจศพ

นายเธียร (ละออ) เอื้อวิทยา

ณ เมรุวัดธาตุทอง พระนคร

๓๑ ตุลาคม ๒๕๑๑

พ.ศ. 2511

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 325 หน้า และมีลายมือของพุทธทาสภิกขุเขียนด้วยปากกา