ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน

BIA-P.2.3.1/1-31

ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน

ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน

เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ 31

คำว่า “ปฏิจจะ” แปลว่า อาศัย คำว่า “สมุปบาท” แปลว่า เกิดขึ้นครบถ้วน เมื่อรวมกันแปลว่า อาการที่มันอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น นี้ก็เพื่อปฏิเสธความมีตัวตน เพราะมันเป็นแต่เพียงสิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้แตกต่างจากศาสนาอื่น หรือว่าทำให้พระพุทธศาสนาสบหลักวิทยาศาสตร์ หรือเป็นที่พอใจของผู้ที่นิยมยึดถือหลักวิทยาศาสตร์

เมื่อพูดว่าทุกข์คืออาการอย่างนี้ๆ และเหตุให้เกิดทุกข์คือสิ่งเรียกว่าในแนวของปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ตัณหาขึ้นมาได้อย่างไร เพราะมีวิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา จนกระทั่งเกิดตัณหา เราจะควบคุมตัณหาได้อย่างไร หรือจะทำลายตัณหาได้อย่างไร นี้เป็นวิธีปฏิบัติซึ่งต้องใช้เป็นประจำวัน เรามีอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ถ้ามันมากระทบกัน มันก็เรียกว่า มีผัสสะ ตาเห็นรูป แล้วควบคุมให้หยุดเสียเพียงแค่นั้น อย่าให้เกิดเป็นว่า สวยหรือไม่สวย น่ารักหรือไม่น่ารัก เกิดพอใจหรือเกลียดชังขึ้นมาอย่างนี้ เราหยุดมันไว้ได้เพียงแค่นั้นแค่ผัสสะ นี้ก็เป็นการควบคุมหรือป้องกันตัณหาไม่ให้เกิดขึ้น ข้อสำคัญมันอยู่ตรงที่ ผัสสะ เวทนา ตัณหา ผัสสะให้เป็นเพียงผัสสะ ถ้าทำไม่ได้เผลอเป็นเวทนาแล้วก็ควบคุมอีกครั้งหนึ่ง ให้หยุดอยู่เพียงเวทนา อย่าให้เป็นตัณหาก็ไม่มีทุกข์ วิธีปฏิบัติที่อย่าให้เกิดนั่นแหละ ไม่ใช่เหมาะแก่พระอรหันต์ มันเหมาะแก่ทุกคนด้วยเหมือนกัน


- พิมพ์ครั้งที่ 1 [พ.ศ. 2513]

หน้า [1] - [51]

ซ้ำ 7 เล่ม


พ.ศ. 2513

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 51 หน้า