การบวชคือการฝึกกระทำเพื่อผู้อื่น

BIA-P.2.3.1/1-39

การบวชคือการฝึกกระทำเพื่อผู้อื่น

การบวชคือการฝึกกระทำเพื่อผู้อื่น

เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ 39

เมื่อบวชเข้ามาแล้วมันต้องมีการตั้งต้นที่ถูกต้อง มิฉะนั้นจะเสียใจทีหลังว่า เราไม่ได้ทำให้ถูกต้องมาตั้งแต่วินาทีแรกหรือวันแรก จะเป็นพระใหม่หรือพระเก่าก็ตามมันมีเรื่องเดียว เรื่องหาวิธีทางใดทางหนึ่งตามความเหมาะสมแก่ฐานะของตน แล้วทำลายความยึดมั่นว่าตัวกูของกูนี้ เมื่อก่อนบวชจนกระทั่งวันบวชนี้ ทำอะไรๆ เพื่อตัวเองทั้งนั้น แต่พอบวชเข้ามาแล้วต้องทำอะไรๆ เพื่อไม่ใช่ตัวเอง เคยทำเพื่อตัวเองนั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นทำเพื่อผู้อื่น ในระดับสูงสุดก็เพื่อความว่างซึ่งไม่ใช่เราเองหรือไม่ใช่ใครด้วย เรื่องบวชนี้มันมีแต่เรื่องเดินออกไปสู่ความหมดตัว หน้าที่ของภิกษุสามเณรไปบิณฑบาตอย่างนี้ ต้องมีความสำนึกในการทำลายความเห็นแก่ตัวอยู่เสมอ ให้รู้สึกว่าขณะนี้ตัวเป็นคนขอทาน เป็นเปรตชนิดหนึ่ง ชีวิตนี้เป็นอยู่ด้วยผู้อื่น มันก็ลดความเย่อหยิ่งจองหอง ลดความทะนงตัว ที่มันไม่ใช่หน้าที่โดยตรง เพื่องานของวัดก็มี งานเพื่อสงเคราะห์กันเป็นส่วนตัวก็มี มีการช่วยเหลือกันตามความสามารถ แม้อย่างนี้ต้องระวังอย่าให้มันเป็นไปเพื่อเพิ่มตัว เพิ่มความทะนงตัว อย่าทำไปเพื่อแสดงความสามารถให้เขายกย่องอย่าทำไปเพื่อให้เกิดความผูกพันประโยชน์ ให้ระวังไว้เสมอว่า ช่วยฟรี ! ช่วยฟรี ! บทเรียนที่แท้จริงที่ดีที่สุดมันอยู่เมื่อขณะทำงาน คือเมื่อประสบอารมณ์ เมื่ออารมณ์มากระทบ เป็นการสอบไล่ที่ดี ทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหวไปในรูป เดิน ยืน นั่งนอน ล้วนแต่เป็นบทเรียนไปหมด แม้แต่เมื่อทำกรรมฐาน ทำสมาธิ ทำวิปัสสนา เมื่อนั้นแหละมันก็จะเกิดตัวกูของกูเหมือนกัน ฉะนั้นต้องพูดน้อย นิ่งมาก คิดมาก แล้วก็ระวังมาก ทุกคนที่ยังมีกิเลสทำอะไรทุกกระเบียดนิ้ว ต้องเป็นไปเพื่อทำลายความทะนงแห่งตัวกู


- พิมพ์ครั้งที่ 1 [พ.ศ. 2514]

หน้า [1] - [36]

ซ้ำ 14 เล่ม


- พิมพ์ครั้งที่ 2 [พ.ศ. 2515]

หน้า [37] - [68]


พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2515

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 68 หน้า

ความเห็นแก่ตัว, ตัวกูของกู