กรรมตามหลักพุทธศาสนา

BIA-P.2.3.1/1-49

กรรมตามหลักพุทธศาสนา

กรรมตามหลักพุทธศาสนา

เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ 49

เราคนหนึ่งๆ มีกรรมต่างๆ กัน ทั้งในอดีตทั้งในปัจจุบันและทั้งที่จะทำต่อไปในอนาคต เพราะฉะนั้นในสิ่งที่สมมติเรียกว่าบุคคลๆ หนึ่งนี้ มีกระแสแห่งกรรมซับซ้อนยุ่งเหยิงเหลือที่จะสะสางได้ แต่ว่าเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นตัว ขึ้นชื่อว่ากรรมแล้วก็ต้องให้ผล และมันก็ซับซ้อนยุ่งเหยิงไปกว่าสิ่งใดหมด และก็มีโอกาสตัดรอนบีบคั้นกันได้ จึงเป็นโอกาสของสัตว์ที่จะกระทำดีให้มากเพื่อจะไถ่ถอนกรรมชั่ว และอย่าให้ขาดสาย เป็นการกลบกรรมชั่วให้หมดโอกาสให้กรรมดีให้ผลแทน กรรมชั่วนั้นก็จะเป็นอโหสิกรรมไปในที่สุด เพราะคนนั้นถึงที่สุดแห่งกรรมเสียก่อน เช่นนิพพานเสียก่อน นี่เป็นหลักเกี่ยวกับกรรมในชั้นศีลธรรม แต่ถ้าเราเอาธรรมชาติเป็นหลักแล้วมันไม่อาจกล่าวได้ว่าดีหรือชั่ว การบัญญัติว่าดีหรือชั่วนี้เป็นไปตามทางของศีลธรรม คือความต้องการของสังคมในโลก

ในขั้นของศีลธรรมเรามีกรรมดำกรรมขาว สองอย่างคือกรรมดีกรรมชั่ว แต่ในชั้นของโลกุตตระมีกรรมอีกประเภทหนึ่ง ไม่ดำไม่ขาวและเป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมทั้งหลาย การประกอบกรรมนี้ได้แก่ การพิจารณาให้เห็นว่า ไม่มีอะไรที่น่าหลงใหลเอาหลงใหลเป็น จนหมดความอยากในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัณหาในสิ่งใดแล้ว ความอยากก็ไม่มีในการที่จะเป็นเหตุให้เกิดเจตนาอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออยากเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเจตนาไม่มี ก็ไม่เป็นกรรมดำหรือขาวขึ้นมาได้ นี้คือที่สิ้นสุดของกรรมและสิ้นสุดของวัฏฏสงสาร การหมดกรรมต้องหมายถึงนิพพาน


- พิมพ์ครั้งที่ 1 [พ.ศ. 2515]

หน้า [1] - [52]

ซ้ำ 2 เล่ม


- พิมพ์ครั้งที่ 2 [พ.ศ. 2517]

หน้า [53] - [120]

พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2517

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 120 หน้า

กิเลส, กรรม, วิบาก, กรรมดำ, กรรมขาว