ธรรมะในฐานะระบบการศึกษา

BIA-P.2.3.1/1-72

ธรรมะในฐานะระบบการศึกษา

ธรรมะในฐานะระบบการศึกษา

เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ 72

การศึกษานั้นโดยเหตุผลทางธรรมชาติหรือโดยกฎของธรรมชาติแล้ว ต้องมีอยู่อย่างน้อย 3 ระบบ

การศึกษาระบบที่ 1 ทำให้คนรู้หนังสือ มีความเฉลียวฉลาด อย่างที่เรียกกันว่า พุทธิศึกษา

การศึกษาระบบที่ 2 คือทำให้มีอาชีพ ให้รู้อาชีพ รวมหัตถศึกษา พลศึกษา

การศึกษาระบบที่ 3 คือเรื่องทางจิตทางวิญญาณ เพื่อให้คนที่มันรู้หนังสือดีแล้วมีอาชีพดีแล้ว เป็นมนุษย์ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ก็คือมีธรรมะนั่นเอง

การศึกษาระบบที่ 3 คือตัวธรรมะ การจัดการศึกษาในโลกปัจจุบันนี้เขาตัดออกไป ยังเหลืออยู่เพียง 2 ระบบ คือทำให้รู้หนังสือเฉลียวฉลาดและรู้อาชีพ เมื่อไม่มีธรรมะนี่ มันมีปัญหาขึ้นมาทันที ว่าคนเหล่านั้นมันจะอยู่ในฐานะอย่างไร มีหลักมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล ถ้าปราศจากธรรมะเสียแล้วคนก็เสมอกันกับสัตว์ เพียงแต่รู้จักกินอาหาร รู้จักนอน รู้จักหนีภัย รู้จักประกอบกิจกรรมทางเพศ มันมีเหมือนกันทั้งคนและสัตว์ ธรรมะเท่านั้นทำให้คนผิดแผกแตกต่างจากสัตว์ เพราะการศึกษาไม่ประกอบด้วยธรรม ทำให้คนเหล่านี้เป็นทาสของอายตนะ คือเป็นทาสของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กิเลสครอบงำแล้ว ความคิดมันก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่กิเลส ไม่มีธรรมะแล้วมันก็เห็นแก่กิเลส

โลกนี้มีวิกฤตการณ์อันถาวร ไม่มีสันติภาพก็เพราะว่าการศึกษามันสูญเปล่า มันไม่เป็นการศึกษา คือมันไม่มีธรรมะอยู่ในตัวระบบการศึกษา คนจึงมีแต่ความเห็นแก่ตัว เมื่อเกิดโลภะ โทสะ โมหะ มันก็เบียดเบียนตนเอง แล้วมันก็เบียดเบียนผู้อื่น จนหาความสงบสุขไม่ได้


- พิมพ์ครั้งที่ [ม.ป.ป.]

หน้า [1] - [20]


Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 20 หน้า

การศึกษา, ความเห็นแก่ตัว, ทาสอายตนะ