วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม และ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

BIA-P.1/34-2

วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม และ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม และภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม

รูปเสียงกลิ่นรสทั้งหลายเป็นเพียงมายาที่ซับซ้อนเพราะเรามองมันเพียงด้านนอกและยุดถือไว้จนแน่นแฟ้น ความยึดติดอย่างโลกๆ ครอบงำอยู่เป็นธรรมดา ความยึดติดอันนี้เป็นเครื่องกั้นไม่ให้เราเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่าพุทธธรรม เมื่อใดเราเพิกถอนสิ่งปิดบังนี้ได้ พุทธธรรมซึ่งมีอยู่ในที่ทั้งปวงก็จะสัมผัสใจเราทันที ทุกๆส่วนของวัตถุธาตุหรือรูปธรรมและทุกๆ ส่วนของวิญญาณาตุหรือนามธรรม ไม่มีส่วนไหนที่เป็นตัวตน แต่ตามสัญชาตญาณของสัตว์ที่ยังประกอบด้วยอวิชชา จะต้องยึดเอาส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นตัวตนไว้ก่อนเสมอ การปอกเปลือกทำลายอวิชชาจะทำให้ลุถึงพุทธธรรม

ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

ภูเขาที่อันตรายที่สุด และสำคัญที่สุด แต่พวกเรามักไม่รู้ตัวว่าเป็นภูเขา คือ การเห็นผิด และการยึดถือแบบผิดๆ ดังเช่น ยึดถือพระพุทธรูปแทนพระพุทธเจ้า นำไปบูชาจนเกิดความยึดติด หากมีผู้อื่นไม่เห็นด้วย ก็ก่อการวิวาทกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้น หรืออย่างละเอียดที่สุด คือ ยึดมั่นในพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อมีหนังอยู่ในประเทศอินเดียเมื่อ 2500 ปีมาแล้ว จนไม่สามารถบรรลุถึงพุทธะองค์จริง ซึ่งเป็นความตื่นรู้ที่อยู่ในตัวเราทุกคน เหมือนคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ไม่เห็นธรรมะ ถือว่าไม่รู้จักตถาคต ยึดถือคัมภีร์ พระไตรปิฎกใบลาน แทนธรรมะ ทำให้หลงท่องบ่น จดจำ จนลืมที่จะนำไปประยุกต์ปฏิบัติให้เกิดผลที่แท้จริงกับตัวเอง แทนที่จะหลุดพ้น ปล่อยวาง กลับกลายเป็นการยึดติดว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นถูกต้อง จนเกิดความอหังการ อุปาทานยึดมั่นถือมั่นไป ยึดถือฝักฝ่ายนิกาย หรือตัวตนของพระสงฆ์ ทั้งที่พระสงฆ์ก็เป็นเพียงนามสมมติของผู้ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น บางครั้งเพราะความยึดติดทำให้เกิดความแตกร้าว ทะเลาะวิวาท แบ่งแยกกัน จนหลงลืมความหมายที่แท้จริง เพราะมุ่งแต่ชัยชนะของฝักฝ่ายตน

พิมพ์ครั้งที่ [พ.ศ. 2492]

[1] - [154]

หมายเหตุ

- มีลายมือเขียนที่หน้าปกว่า "ส่วนตัว. อินทปัญญาจารย์."

- มีแก้คำผิด หน้า ค.และหน้าคำแถลง

พ.ศ. 2492

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 154 หน้า และมีลายมือของพุทธทาสภิกขุเขียนด้วยปากกา

วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม

และ

ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

โดย

พุทธทาสภิกขุ


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ

นางวรกิจวิจารณ์ (ลับ เหมะรัต)

ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม

๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒

พุทธธรรม, อวิชชา, การเห็นผิด, ความยึดมั่น