สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย แปล ภาค ๑

BIA-P.1/50-13

สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย แปล ภาค ๑

สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย แปล ภาค ๑

สมันตปาสาทิกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆสาจารย์ แปลและเรียบเรียงขึ้นเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง 1000 โดยอาศัยอรรถกถาที่มีอยู่ในภาษาสิงหฬชื่อมหาอัฏฐกถา เป็นหลัก พร้อมทั้งอ้างอิงจากคัมภีร์ มหาปัจจริยะ และคัมภีร์กุรุนที นอกจากจะเป็นคัมภีร์อรรถกาที่อธิบายความของพระวินัยปิฎกแล้ว ท่านผู้รจนายังได้สอดแทรกและบันทึกข้อมูลอันทรงคุณค่าด้านสังคม การเมือง จริยธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์ปรัชญาในยุคโบราณของอินเดียไว้อย่างมากมาย


- พิมพ์ครั้งที่ [พ.ศ. 2508]

[1] - [605]

หมายเหตุ

- มีลายเซ็นที่หน้าปกว่า "พ. อินฺทปัญฺโญ"

- มีลายมือเขียนที่สันหนังสือว่า "สมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๑"

- มีเครื่องหมายคำถาม หน้า 40, 43, 479

- มีลายมือเขียนที่หน้า 12 ว่า "นี้ไม่น่าเชื่อว่าเป็นไปได้, เขียนตามธรรมเนียมครั้งแต่งสามนต์เองมากกว่า." ,

"การที่โผล่ขึ้นก็ถามพรหมชาลสูตรนี้เป็นไปไม่ได้ ; ควรจะเป็นธรรมจักรเป็นต้นมากกว่า. นี่จัดกันในยุคหลัง."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 13 ว่า "อภิธรรม (?)" , " * ถ้าคำว่ารสมีความหมายตามธรรมดาก็ชวนให้สงสัยว่า พวกอกุสลและมิจฉาทิฏฐิต่างๆ เล่า จะมีรสเป็นวิมุติได้อย่างไร ?

แม้จะแปลคำ "รว" ว่า "กิจ" ก็ยังอธิบายยากอยู่นั่นเอง."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 14 ว่า "[พูดกลับไปกลับมากันอยู่ : ธรรมวินัย - วินัยธรรม, กันแน่]"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 15 ว่า "การแบ่งอย่างนี้ดูไม่ค่อยสำเร็จประโยชน์อะไร และดูเด็กๆ อยู่มาก." ,

"อย่าลืมว่าในที่อื่นเอาวินัย + อภิธรรม บรรจุลงไปในขุททกนิกายเสียเอง."

" * นี่ย่อมแสดงว่า อรรถกถาจารย์นี้ยอมรับว่าของชั้นหลังมีรวมอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย; ซึ่งท่านจะหมายถึง อภิธรรมปิฎก หรืออะไรกันแน่ ?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 16 ว่า " * เข้าใจว่านัยหลังนี้เอง ตรงตามความหมายแท้จริงของคำนี้ : วินย = นำไปวิเศษ" ,

"นัยหลังนี้ดูจะเป็นความหมายแท้."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 18 ว่า "คำอธิบายข้างบน เอาอภิธรรมเป็นพุทธวจนะแท้."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 20 ว่า "นี้ไม่เห็นด้วย : บางเรื่องในสุตตันต (เช่น ทิฎฺฐิสํยุตต์) แสดงความเป็นปรมัตถ์ยิ่งกว่าในอภิธรรม, อภิธรรมเสียอีกเป็นเพียง "เล่นโวหาร" ,

"นี้ พอฟังได้ ; แต่อธิบายคำว่า ธัมม ยังตื้นไป." , "ทั้งสุตตและอภิธัมมก็ล้วนแต่เปลื้องทิฏฐิ; การกำหนดนามรูปก็มีในสุตตะและไม่เฟ้อเหมือนในอภิธัมม, ซึ่งเลยขอบเขตของความเป็นพุทธศาสนา."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 21 ว่า "นี้ไม่จริง, ในสุตตันตะแสดงปัญญาลึกกว่าในอภิธรรมเสียอิก." , "หลักนี้เข้าที, แต่ออกจะมากไปสำหรับวินัยปิฎก."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 22 ว่า "นี้ดีกว่านัยก่อน." , "นี้ไม่ใช่ตัวบทเดิมในสุตตะแท้, เป็นของใหม่ในอภิ. ควรอ้าง ขุ. ปฏิ. ๑๗๕ ; & ปญฺจก. อํ. ๑๓๕. จะดีกว่า."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 23 ว่า "พระขีณาสพเรียนปริยัติ." , " * ดูคล้ายกับหลับตาพูด "พระอรหันต์เรียนปริยัติเพื่อเป็นขุมคลังปริยัติ; นี้รวมอภิธรรมปิฎกใหม่ๆ นี้ด้วยหรือเปล่า ?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 24 ว่า "นี้แสดงว่า อภิ. เป็นเรื่องพูด, ปรัชญา, ล้วนๆ." , "หลักอันนี้ใช้ไม่ได้ ว่าเอาเองมากเกินไป, โดยเฉภาะเรื่องวินัย." ,

"วิบัติ ๓ นี้เข้าที. แต่อภิ. เช่นนี้ มิได้หมายเฉภาะอภิธัมมปิฎกก็ได้."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 25 ว่า " * ยังไม่พบที่มา ?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 26 ว่า "อภิธรรมรวมอยู่ในขุททกนิกาย."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 27 ว่า " * คำอธิบายข้างล่าง ๙ อย่างนั้น บางอย่างคงไม่ถูกเพราะฟั่นเฝือกันอยู่ในตัว, และคงไม่ตรงกับของเดิมครั้งพุทธกาล หรือก่อนพุทธกาล.

เราเห็นว่า สุตตคือสูตรที่เป็นเพียงหัวข้อ, บทตั้ง, หรือ formular, เคยยะ นั้นเป็นบทขับ ต่างจากคาถาซึ่งเป็นบทประพันธ์ธรรมดา ; เวทัลละ ควรเป็นถามอย่างอภิธรรมมากกว่า"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 28 ว่า " * สมัยพระอานนท์ยังไม่กถาวัตถุเป็นต้น : โกหก (?)" , "นี้ว่ากันเอาเองในชั้นหลัง, อย่างน้อยเมื่อมีคัมภีร์กถาวัตถุแล้ว." ,

"เห็นได้ว่าในยุคสามนต์นี้ยังไม่เกิดมติแบ่ง วินัย ๒๑๐๐๐ สูตร ๒๑๐๐๐ อภิธัมม ๔๒๐๐๐ ธรรมขันธ์; เพิ่งจะมี"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 29 ว่า "นี้ถือคติ ๕๐๐๐ ปีกันแล้ว." , "(มีคำว่า "มหา" เพิ่มอยู่)"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 30 ว่า "๑๐๐๐ องค์ ทั้ง ๓ ยุคอย่างนี้ เกินไป ดูจะเป็นการพูดตามธรรมเนียมมากกว่า."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 31 ว่า "ตรงตามประวัติศาสตร."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 33 ว่า "ดูมากเกินไปตามแบบสำนวนพูด." , "นี้ล้วนแต่หมายความว่ามีอายุเกิน ๑๐๐ ปี ด้วยกันทั้งนั้น ; อย่างน้อยต้อง ๑๒๐ ปี."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 34 ว่า "เห็นด้วยญาณอะไรจึงระบุปีได้ ?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 35 ว่า " : อุตส่าห์ถือโอกาสสอนธรรมะด้วยแม้กำลังเล่าตำนาน !"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 38 ว่า "ข้อความนี้ขัดกับข้อความที่หน้า ๒๓ (ขีดเส้นใต้)."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 39 ว่า " * นี้แสดงว่า มีอรรถกถาแล้วในอินเดีย ; แล้วหายไป, เหลือแต่บาลีได้อย่างไรกัน?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 46 ว่า " * ภิกษุณี ๙,๐๐๐,๐๐๐ รูป ในสมัยอโศก ! ?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 47 ว่า "นี้ ยังดีอยู่, แม้เป็นอรรถกถาจารย์."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 99 ว่า " ! เป็นข้อความที่ประหลาด."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 253 ว่า "ในตอนหลัง ขมวดกันเองให้มากขึ้นถึงแม้ตัวผู้. เคร่งไว้ก็ดีเหมือนกัน."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 257 ว่า " * นี้แสดงว่า เถรวาท มิได้หมายถึง บาลีสังคีติ; แต่หมายถึงอรรถกถา; = อัตตโนมัติ ! และอาจาริยวาทก็มีน้ำหนักพอๆ กัน, และเป็นที่รับรอง."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 284 ว่า "บ้าชัดๆ ."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 314 ว่า " * ปรากฏการณ์มีถึงขนาดนี้แล้ว ยังมีผู้สงสัยในความบริสุทธิ์ของพระเถรี และโจทท้วงได้ในหมู่คนที่เชื่อปาฏิหาริย์; ต้องมีอะไรบางอย่างที่เขียนไว้อย่างไม่เป็นจริง."

- มีลายมือเขียนที่หน้า 316 ว่า "ดูจะว่าเอาเองตามใจชอบ"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 317 ว่า " ? มาติกาวินัยในที่นี้ แสดงว่าเป็นสิ่งบังคับ. คืออะไรแน่ ?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 500 ว่า "ไม่เห็นด้วยโว้ย !" , "ถือว่ายักษ์ไม่ค่าถึงคน ฆ่าไม่ถึงปาราชิก, ยักษ์อะไรกัน?"

- มีลายมือเขียนที่หน้า 501 ว่า "ไม่เห็นด้วย."

- มีขีดเส้นใต้ หน้า 17, 19, 32, 37, 41- 43, 45, 100, 479

คณะสงฆ์

พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล

งานพระเมรุพระศพ

สมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาเถระ

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๐๘

พ.ศ. 2508

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 605 หน้า และมีลายมือของพุทธทาสภิกขุเขียนด้วยปากกา